เชื้อราบูเวเรีย

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

         สารชีวภัณฑ์  คือ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ผลิต, พัฒนามาจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ แต่ไม่นับรวมสารที่สกัดหรือแยกได้จากสิ่งมีชีวิตที่เป็นสารเคมีเชิงเดี่ยวเช่น ไพรีทรอยด์ นิโคติน อะบาเม็กติน
ชีวภัณฑ์ (Microbial Pesticide)  คือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์                                                                                                                                            

ชีวภัณฑ์จากเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่นิยมใช้
        -  เชื้อรา (Fungus)
        -  เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria)
        -  ไส้เดือนฝอย (Nematodes)    
        -  เชื้อไวรัส (Viruses)

Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/Biopesticide

 

ชีวภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช           

ชนิดชีวภัณฑ์ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง ชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืช
1.เชื้อรา (Fungus)

- เชื้อราบูเวเรีย  (Beauveria bassina)

- เชื้อราเมธาไรเซียม ( Metarhizium anisopliae)

- เชื้อราพาซิโรมัยซีส (Paecilomyces sp.)

- เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.)

- เชื้อราคีโตเมี่ยม (Chaetomium cuprem)

2.เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria)

- เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บีที)

  (Bacillus thuringiensis)

- เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ( Bacillus sp.)

- เชื้อแบคทีเรียซูโดโมนาส (Pseudomonas sp.)

- เชื้อสเตปโตมัยซีส (Streptomyces sp.)
3.เชื้อไวรัส (Viruses) - เชื้อไวรัส NPV (nuclear polyhedrosid virus) -
4.ไส้เดือนฝอย(Nematodes) - ไส้เดือนฝอย ( Steinernema sp.) -

 

เชื้อราบูเวเรีย Beauveria bassiana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beauveria bassiana
ชื่อสามัญ : White muscardine
วงศ์ (Family) : Moniliaceae
อันดับ (Order) : Moniliale

Credit: https://www.invasive.org/browse/detail.cfm?imgnum=1276024

 

          เชื้อราบูเวเรีย (ราขาว) เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด  ลักษณะของเส้นใย และสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมซีด เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 20-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์   จัดเป็นเชื้อประเภท  Saprophyte  อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง

          ประโยชน์ เชื้อราบูเวเรียสามารถที่จะควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิดที่สำคัญ ๆ เช่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  หนอนผีเสื้อศัตรูพืชต่าง ๆ หนอนห่อใบข้าว  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  ด้วงงวงต่าง ๆ  เป็นต้น

          กลไกการทำลาย
          เชื้อราบูเวเรีย ที่อยู่ในระยะสปอร์  เมื่อตกหรือติดกับผนังลำตัวแมลง หากสภาพแวดล้อมและความชื้นเหมาะสม สปอร์ก็จะงอก (germ tube) แทงทะลุผ่านผนัง หรือช่องว่างบนลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อของแมลงที่มีผนังบาง เส้นใยของเชื้อราจะเข้าสู่เนื้อเยื่อ ของแมลง โดยอาศัยน้ำย่อยต่าง ๆ ได้แก่  ไลเปส (Lipase) โปรตีเนส (Proteinase) และไคติเนส (Chitinase) เมื่อเชื้อราเข้าสู่ช่องว่าง ของลำตัวแมลงจะเจริญเพิ่มปริมาณ และสร้างเส้นใยจนเต็มช่องว่างในลำตัวของแมลง พร้อมกับผลิตเอ็นไซม์ที่เป็นพิษ แมลงจะเริ่มเป็น อัมพาตทั่วตัวและตาย  หลังจากแมลงตายเส้นใยของเชื้อราจะพัฒนาต่อไปเพิ่มปริมาณอัดแน่นภายในซากของแมลง และแทงก้านชูสปอร์ (Conidiophores)  ทะลุผ่านผนังลำตัวออกมาภายนอกซากแมลงที่ตายจะแห้งแข็ง มีสปอร์สีขาวขึ้นปกคลุม

 

 

          ความรุนแรงในการทำลายแมลงศัตรูพืชของเชื้อราบูเวเรีย  ขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญคือ
1. ปริมาณของสปอร์ที่ไปสัมผัสหรือเกาะติดกับตัวแมลงถ้าแมลงได้รับสปอร์ปริมาณมาก การทำลายก็จะมีความรุนแรง และรวดเร็ว
2. สภาพแวดล้อมในขณะที่ใช้  เชื้อราบูเวเรียจะงอกและเจริญได้ดีมากในอุณหภูมิ  20 – 27  องศาเซลเซียส  และต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ 80 เปอร์เซ็นต์ และไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
3. การที่เชื้อราบิวเวอเรีย จะเจริญออกมาภายนอกลำตัวแมลงได้มากนั้น ต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ 92 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป
4. ถ้าอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ สปอร์ของเชื้อราฯจะงอกน้อย ไม่เจริญเท่าที่ควร หรืออาจไม่งอกเลย

 

          อาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบูเวเรียเข้าทำลาย

1. แมลงจะแสดงอาการเป็นโรคคือเบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง อ่อนแอและไม่เคลื่อนไหว

2. สีผนังลำตัวแมลงจะเปลี่ยนไป จะปรากฏจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย

3. พบเส้นใยและผงสีขาวของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย

Credit: https://entomologytoday.org/2017/05/03/beauveria-endophytes-can-curb-grasshopper-pests/

Credit:  http://anatisbioprotection.com/en/news/beauvaria-bassiana-spray.html

 

 

  

 

ลักษณะเชื้อราบูเวเรียชนิดสดที่เลี้ยงบนเมล็ดพืช

วิธีการใช้ หมายเหตุ
วิธีการใช้: ชีวภัณฑ์บูเวเรียควรพ่นเชื้อลงพื้นดิน และทั่วทรงพุ่มอัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ถ้าใช้เชื้อบูเวเรียเชื้อสด อัตราการใช้ 1,000 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นก่อนการระบาดทุก 7-10 วัน ในกรณีที่เกิดการระบาด ควรพ่นซ้ำทุก 3-5 วัน

- ควรผสมสารจับใบก่อนพ่นทุกครั้ง และสภาพแปลงควรมีความชื้นพ่นในช่วงเย็น (16.30 น.เป็นต้นไป)

- ไม่พ่นเชื้อร่วมกับสารกำจัดเชื้อราทุกชนิด

- สามารถใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงและอาหารเสริมได้ทุกชนิด

- สามารถใช้เชื้อราเมธาไรเซียม พ่นสลับกับการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย

 

24 กันยายน 2561

ผู้ชม 10500 ครั้ง

Engine by shopup.com